ซิทริกซ์ เผยรายงานวิจัยเทคโนโลยี ระบุ การทำงานรูปแบบโมบายมีศักยภาพเติบโตสูงในไทย โดย 52% ขององค์กรในไทย ประยุกต์ใช้ หรือมีแผนที่จะนำการทำงานรูปแบบโมบายมาใช้ในปี 2020 เรื่องจากลดค่าใช้จ่าย ลดค่าอสังหาริมทรัพย์ ขณะที่พนักงานลาออกลดลง ในขณะที่องค์กรส่วนใหญ่ในประเทศไทยวางแผนว่า จะนำการทำงานรูปแบบโมบายมาใช้ในอนาคตอันใกล้นี้ ประเทศไทยก็ยังจัดว่าตามหลังแนวโน้มโลกอยู่ในแง่ของการนำโมบายเวิร์กสไตล์มาประยุกต์ใช้ในปัจจุบัน โดยจากที่สำรวจ มีเพียง 10% ขององค์กรในไทยที่มีการนำการทำงานรูปแบบโมบายมาใช้ เปรียบเทียบกับ 21% ประเทศอื่นๆ ในเอเชียแปซิฟิกซึ่งเป็นภูมิภาคที่มีอัตราการนำการทำงานรูปแบบโมบายมาใช้ เพิ่มขึ้นสูงมากและสำหรับทั่วโลกแล้ว 1 ใน 4 หรือ 24% ขององค์กรได้มีการประยุกต์ใช้การทำงานรูปแบบโมบาย ซิทริกซ์ เปิดเผยผลการสำรวจฝ่ายไอทีระดับอาวุโส ในหัวข้อการสำรวจเกี่ยวกับสถานที่ทำงานแห่งอนาคต จัดทำโดยสำนักวิจัยอิสระ Vanson Bourne ในเดือน ส.ค.2555 sbobet โดยสัมภาษณ์มืออาชีพอาวุโสด้านไอที 1900 คนทั่วโลก ผลสำรวจมืออาชีพด้านไอที 100 คนจากทุกอุตสาหกรรมในประเทศต่างๆ 19 ประเทศ พบว่า ส่วนมาก หรือ 84% ในประเทศไทยที่มีการนำ โมบายเวิร์กสไตล์ หรือการทำงานในรูปแบบโมบายมาประยุกต์ใช้ เนื่องจากเห็นถึงประโยชน์หลักในแง่ของการเพิ่มความยืดหยุ่น และทำให้สถานที่ทำงานเกิดความคล่องตัวมากขึ้น นอกจากนี้ รายงานยังระบุว่า นอกเหนือจากองค์กรในไทยที่ได้นำการทำงานในรูปแบบโมบายมาประยุกต์ใช้แล้ว 44% มองว่าเป็นการลดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับพนักงานลง ส่วนอีก 48% เห็นว่าค่าใช้จ่ายด้านอสังหาริมทรัพย์ลดลง และ 32% มองว่าค่าใช้จ่ายด้านการลาออกของพนักงานลดลง Vanson Bourne ศูนย์วิจัยอิสระ ได้จัดทำสำรวจในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2555โดยรายงานเรื่องสถานที่ทำงานแห่งอนาคตของซิทริกซ์ แสดงให้เห็นว่าแนวโน้มที่พนักงานจะนั่งทำงานในออฟฟิศนั้นลดลงซึ่งแนวโน้มของการที่พนักงานหันมาใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์หลากหลายรูปแบบในการเข้าถึงแอพพลิเคชั่นข้อมูล

และบริการขององค์กร จากสถานที่ต่างๆ นอกเหนือออฟฟิศปกตินั้นเป็นส่วนหนึ่งของแนวโน้มโลกที่เรียกว่าโมบายเวิร์กสไตล์ จากข้อมูลไอดีซี ความต้องการสมาร์ทโฟนในประเทศไทยเติบโต 76% ในปี 2554 คิดเป็นมูลค่า 1.5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ แสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมพนักงานรุ่นใหม่ที่เป็นผู้ใช้งานดิจิตอลอย่างแท้จริงซึ่งต้องการนำสมาร์ทโฟนของตัวเองมาใช้ทั้งเรื่องงานและเรื่องส่วนตัวโดยในประเทศไทย มีคำร้องของจากพนักงานจำนวนมาก (53%) ติดอันดับต้นๆ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการผลักดันให้องค์กรหันมาใช้การทำงานในรูปแบบโมบาย ความต้องการในการใช้งานโมบิลิตี้ที่เพิ่มขึ้น กำลังเป็นปัจจัยผลักดันองค์กรต่างๆ ให้มีการกำหนดใช้นโยบายในการนำอุปกรณ์ส่วนตัวมาใช้เพื่องาน (BYOD) (65 เปอร์เซ็นต์) โดยปกติพนักงานจะเป็นผู้เลือกซื้ออุปกรณ์เอง sbo โดย 72 เปอร์เซ็นต์ ขององค์กรช่วยออกค่าใช้จ่ายบางส่วนหรือเต็มจำนวนให้กับพนักงาน จากการสำรวจองค์กรเกือบครึ่งหนึ่ง (45%) ในประเทศไทยจะมีการนำการทำงานรูปแบบโมบายมาประยุกต์ใช้ในปี 2557 และองค์กร 7เปอร์เซ็นต์ในประเทศไทยกำลังวางแผนที่จะนำความริเริ่มดังกล่าวมาใช้ในราวปี 2563 ทั้งนี้ เหตุผลต่างๆ ที่องค์กรธุรกิจในไทยเลือกที่จะประยุกต์ใช้โมบายเวิร์กสไตล์ คือ มีความยืดหยุ่น และเป็นสถานที่ทำงานที่คล่องตัวมากขึ้น (84 เปอร์เซ็นต์) ลดค่าใช้จ่ายด้านอสังหาริมทรัพย์ (48 เปอร์เซ็นต์) ลดค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับพนักงาน (44 เปอร์เซ็นต์) ช่วยดึงดูดคนที่มีความสามารถเข้ามาร่วมงานกับองค์กร (40 เปอร์เซ็นต์) และ สร้างความต่อเนื่องในการทำธุรกิจ (40 เปอร์เซ็นต์) พนักงานในองค์กรจะได้ประโยชน์จากความยืดหยุ่นที่มากขึ้น (72 เปอร์เซ็นต์) ลดเวลาเดินทาง (56 เปอร์เซ็นต์)สร้างสมดุลชีวิตทำงานและส่วนตัว (48 เปอร์เซ็นต์) และเพิ่มศักยภาพในการทำงานให้กับพนักงานแต่ละคน (44 เปอร์เซ็นต์)

Credit : Cilck here


Comments are closed.